![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
ประเภทดินที่นิยมนำมาใช้ผลิตป้านจื่อซา ป้านจื่อซา (紫砂壶) เป็นป้านชาที่ผลิตจากดินจื่อซา ซึ่งมีแหล่งผลิตหลักอยู่ที่เมืองอี๋ซิง (宜兴市) มณฑลเจียงซู (江苏省) ประเทศจีน และถือเป็นป้านชาดินเผาที่คนนิยมนำมาใช้ชงชามากที่สุด ด้วยเชื่อกันว่า ดินจื่อซาเมื่อนำมาผลิตเป็นป้านชาแล้วจะสามารถขับกลิ่นและรสชาติของชาได้ดีที่สุด ซึ่งได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้วหลายร้อยปีจนถึงปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับว่า ชาที่ชงจากป้านจื่อซาให้คุณภาพ รสชาติ และกลิ่นของชาที่ดีเยี่ยมจนยากจะปฏิเสธจริง ๆ
ป้านจื่อซาที่มีจำหน่ายทั่วไปนั้น จะมีดินอยู่ 3 ชนิดที่นิยมนำมาใช้ผลิตเป็นป้านชามากที่สุด ได้แก่ 1. ดินจื่อ/จื่อหนี (紫泥) ซึ่งดินทั้ง 3 ชนิดนี้ก็ยังมีประเภทดินที่แยกย่อยออกไปอีก ตัวอย่างเช่น ชิงสุ่ยหนี (清水泥), ตี่เฉาชิง (底槽清), หงผีหลง (红皮龙), หงจงหนี (红棕泥) พวกนี้เป็นประเภทดินที่อยู่ในกลุ่มจื่อหนี หรืออย่างจินหวงจูหนี (金黄朱泥) หรือขุยหวงจูหนี (葵黄朱泥) ก็จะเป็นชื่อประเภทดินที่อยู่ในกลุ่มจูหนี ส่วนหวงจินต้วน (黄金段), จือหมาต้วน (芝麻段), ไป๋ต้วนหนี (白段泥), หวงซาต้วน (黄砂段) เหล่านี้ก็จะเป็นประเภทดินที่อยู่ในกลุ่มต้วนหนี นอกจากดินทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในท้องตลาดยังสามารถพบเห็นดินจื่อซาชนิดอื่น ๆ ที่นำมาใช้ผลิตป้านชาอยู่จำนวนไม่น้อย เช่น ต้าหงเผา (大红袍), เจี้ยงพอหนี (降坡泥), จื่อจูหนี (紫朱泥), เฮยหนี (黑泥), ลวี่หนี (绿泥) เหล่านี้เป็นประเภทดินที่น่าจะคุ้นหูคุ้นตานักสะสมป้านอยู่บ้าง และยังมีดินจื่อซาอีกหลายชนิดที่ไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ • ป้านดินจื่อ/จื่อหนี (紫泥壶) ป้านจื่อหนี โดยมากจะมีสีม่วงเข้มอมน้ำตาล หรือสีน้ำตาลเข้ม หรือสีน้ำตาลเข้มอมแดง ซึ่งสีของป้านชาที่แตกต่างกันแม้จะเป็นป้านจื่อหนีเหมือนกันนั้น มาจากปัจจัยเรื่องประเภทดิน การหมักดิน อายุของดิน และอุณหภูมิในการเผา นอกจากนี้ อาจจะพบเห็นป้านจื่อหนีที่เป็นสีอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาบ้าง นั่นเป็นเทคนิคการทำสีในกระบวนการผลิต อย่างเช่น ป้านจื่อหนีสีดำ หรือที่เรียกกันว่า "ป้านอู่ฮุย (捂灰壶)" ที่จะใช้ขี้เถ้าพอกหรือกลบป้านเอาไว้ไม่ให้โดนอากาศขณะเผา เพื่อให้ได้ป้านชาจื่อหนีที่ออกมาเป็นสีดำ คนจีนเรียกเทคนิคนี้ว่า "อู่ฮุยกั้วเฉิง (捂灰过程)" แต่อย่าสับสนกับป้านที่ผลิตจากดินดำอย่าง "เฮยหนี (黑泥)" หรือกลุ่มดินดำอย่าง "เฮยจินซา (黑金砂)" เพราะป้านอู่ฮุยกับป้านเฮยหนีจะแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน ทั้งผิวสัมผัส ความแข็งของเนื้อดิน และคุณสมบัติในการเก็บความร้อน แม้จะมีสีดำเหมือนกันก็ตาม ส่วนป้านจื่อหนีสีอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้วนั้น ก็มีเช่นกัน โดยส่วนมากจะเป็นกระบวนการย้อมสี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคของช่างแต่ละคน ลักษณะเนื้อดินของป้านจื่อหนีมีรูพรุนค่อนข้างมาก (รูพรุนในเนื้อดินมากกว่าป้านจูหนี แต่น้อยกว่าป้านต้วนหนี) เก็บความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง ช่วยดูดซับกลิ่นที่ไม่ดีของชาได้ โดยชาที่เหมาะจะใช้ชงกับป้านจื่อหนี ได้แก่ ชาดำ ชาผูเอ่อร์สุกและดิบ รองลงมาก็จะใช้กับกลุ่มชาอูหลงและชาแดง • ป้านดินจู/จูหนี (朱泥壶) ป้านจูหนี ส่วนใหญ่จะเป็นสีส้ม ซึ่งเฉดของสีส้มก็มีทั้งสีส้มอ่อนและสีส้มเข้ม ขึ้นอยู่กับอายุของดิน การหมักดิน และอุณหภูมิในการเผา ป้านจูหนีมีเนื้อดินค่อนข้างแข็ง แต่งผิวให้เงามันสวยงามได้ดี มีรูพรุนในเนื้อดินน้อยกว่าป้านจื่อหนีและป้านต้วนหนี เก็บความร้อนได้ดี ดูดซับกลิ่นน้อย ช่วยขับกลิ่นชาได้อย่างดีเยี่ยม ชาที่เหมาะใช้ชงกับป้านจูหนี ได้แก่ ชาอูหลง ชาแดง ชาเขียว ชาขาว หรือชาเหลือง • ป้านดินต้วน/ต้วนหนี (段泥壶) ป้านต้วนหนี ที่พบเห็นมากที่สุดมักจะเป็นสีเหลือง มีทั้งเหลืองเข้ม เหลืองอ่อน เหลืองอมส้ม เหลืองอมเขียว เหลืองอมเทา ซึ่งปัจจัยของสีนั้นขึ้นอยู่กับการผสมดิน การหมักดิน อายุของดิน และอุณหภูมิในการเผา (ดินชิงต้วนหนี (青段泥) ที่เผาออกมาแล้วเป็นสีเขียวอมเทาก็จัดอยู่ในดินกลุ่มนี้เช่นกัน) นอกจากนี้ ยังสามารถพบเห็นป้านต้วนหนีที่เป็นสีอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น สีเขียว หรือสีน้ำเงิน เนื่องจากเป็นดินที่สามารถแต่งสีได้ค่อนข้างดี แต่ก็อาจมีกระบวนการทางเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งถือเป็นดุลยพินิจส่วนบุคคลในการเลือกนำป้านเหล่านั้นมาใช้งาน ป้านต้วนหนี มีลักษณะเนื้อดินที่ค่อนข้างอ่อน สามารถนำมาขึ้นรูปป้านชาได้หลายแบบหลายทรง มีรูพรุนในเนื้อดินค่อนข้างมาก ช่วยดึงเอากลิ่นที่ไม่ดีของชาออกได้ ซึ่งชาที่เหมาะใช้ชงกับป้านต้วนหนี ได้แก่ ชาผูเอ่อร์ และกลุ่มชาเก่า ประเภทดินจื่อซาเพิ่มเติม (ก-ฮ) : เกาเวินชิงฮุยต้วน (高温青灰段), จงเฉาชิง (中槽清), จินกางซา (金刚砂), จื่อเฉียหนี (紫茄泥), จื่อชิงสุ่ย (紫清水), จื่อหงหนี (紫红泥), จูหนีโหรวซา (朱泥柔砂), เจี๋ยจื่อหนี (甲子泥), เจี้ยงพอหนี (降坡泥), เจี่ยวหนี (绞泥), ชิงต้วนหนี (青段泥), ชีไฉ่ต้วนหนี (七彩段泥), ชิงซาต้วน (青砂段), ชิงต้วนไฉเซา (青段柴烧), ชิงฮุยหนี (青灰泥), เซี่ยเขอชิง (蟹壳青), เซี่ยหวงซา (蟹黄砂), เซี่ยหวังหนี (蟹王泥), โต้วชิงหนี (豆青泥), เถาฮวาหนี (桃花泥), เทียนชิงหนี (天青泥), เทียนชิงฮุย (天青灰), พินจื่อหนี (拼紫泥), พินเฮย (拼黑), ฟ่าหลางไฉ่จวงซื่อ (珐琅彩装饰), โม่เหอหนี (墨荷泥), หรู่เหยาชิงต้วน (汝窑青段), หรู่เหยาไป๋ (汝窑白), หลงเสวี่ยซา (龙血砂), เหล่าชิงต้วน (老青段), เหล่าเฮยเลี่ยว (老黑料), เหวินเก๋อจื่อหนี (文革紫泥), เหวินเก๋อหนี (文革泥), เสี่ยวเหมยเหยาจูหนี (小煤窑朱尼), หงเจี้ยงพอ (红降坡), หงชิงสุ่ย (红清水), หงพินหนี (红拼泥), อี้ผิ่นหงจง (一品红棕), อวี๋จื่อซา (鱼子砂), อวี้ซาเลี่ยว (玉砂料), อวี้ฉือต้วน (玉石段), อู๋ไฉ่ต้วน (五彩段), อวี้หง (石红), อวี้หวง (石黄), อูจินซา (乌金砂), เฮยจี๋ซิง (黑疾星), เฮยจูหนี (黑朱泥), เฮยพินจื่อ (黑拼紫) * ยังมีดินจื่อซาอีกหลายชนิดที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ COPYRIGHT © WWW.YUTEAPOT.COM |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
หยูทีพอท | 裕茶壶 | Yu Teapot |